ชื่อพระ : เหรียญมหาเศรษฐี รุ่น มหาเศรษฐี 83 ปี ๒๕๕๖ หลวงปู่บุญหนา ธมฺม ทินโน วัดป่าโสตถิผล จ.สกลนคร เนื้อทองแดงผิวไฟ สร้าง 2,999 เ ห รียญ หมายเลข 1522

ปิดประมูล

1 / 2

2 / 2


 
 
ชื่อพระที่ต้องการส่งเข้าประมูล : เหรียญมหาเศรษฐี รุ่น มหาเศรษฐี 83 ปี ๒๕๕๖ หลวงปู่บุญหนา ธมฺม ทินโน วัดป่าโสตถิผล จ.สกลนคร เนื้อทองแดงผิวไฟ สร้าง 2,999 เ ห รียญ หมายเลข 1522
ราคาเปิดประมูล : 100 บาท
ราคาสูงสุด ขณะนี้ : 300 บาท
ราคาที่ต้องเพิ่มขึ้น ขั้นต่ำ : 10 บาท
คำอธิบายเพิ่มเติม :

เหรียญมหาเศรษฐี รุ่น มหาเศรษฐี 83 ปี ๒๕๕๖ หลวงปู่บุญหนา ธมฺมทินโน วัดป่าโสตถิผล จ.สกลนคร
ด้วยมาตรฐานการสะสม
1. พ่อแม่ครูบาอาจารย์ดี
ประวัติและปฏิปทา
หลวงปู่บุญหนา ธมฺมทินโน วัดป่าโสตถิผล ต.ช้างมิ่ง อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
๏ อัตโนประวัติ
“หลวงปู่บุญหนา ธมฺมทินโน” เป็นพระสายวิปัสสนากัมมัฏฐานที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยชื่อดังรูปหนึ่งแห่งเมืองสกลนคร ที่มีชาวบ้านให้ความเลื่อมใสศรัทธาเป็นอันมาก โดยเฉพาะความเป็นพระสงฆ์ที่มากด้วยเมตตาธรรม ท่านเป็นหลานแท้ๆ ของหลวงปู่ฝั้น อาจาโร แห่งวัดป่าอุดมสมพร ต.พรรณา อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
เมื่ออายุ ๑๒ ปี ได้เข้าพิธีบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดแจ้ง บ้านหนองโดก ต.ช้างมิ่ง อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ซึ่งเป็นวัดบ้านเกิดของท่านเอง ได้ญัตติฝ่ายมหานิกาย
๏ อุปัฏฐากรับใช้ครูบาอาจารย์
ท่านได้ปฏิบัติอุปัฏฐากรับใช้ครูบาอาจารย์นานถึง ๑๒ ปี ตั้งแต่ครั้งสมัยเป็นสามเณร อาทิเช่น หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ซึ่งเป็นหลวงอาได้นำท่านมาอยู่ด้วย และโดยเฉพาะกับ “พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ” ศิษย์สายธรรม หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ในช่วงที่เป็นสามเณรอยู่กับพระอาจารย์อ่อน เคยไปกราบนมัสการหลวงปู่มั่น ณ วัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส) ต.นาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร เป็นประจำ โดยมีพระอาจารย์อ่อนนำพาไป
สาเหตุที่ได้ปฏิบัติอุปัฏฐากรับใช้พระอาจารย์อ่อน ด้วยพระอาจารย์อ่อนเดินธุดงค์มาพำนักหาความสงบวิเวกอยู่ที่บริเวณป่าช้าบ้านหนองโดก (ปัจจุบันคือ วัดป่าโสตถิผล หรือวัดป่าบ้านหนองโดก) ตอนนั้น ได้บรรพชาเป็นสามเณร แต่เป็นฝ่ายมหานิกาย ได้ ๔ พรรษา พักอยู่วัดแจ้ง บ้านหนองโดก เป็นวัดบ้านของท่านเอง และไม่ไกลจากป่าช้าที่พระอาจารย์อ่อนไปพักอยู่นั้นมากนัก ประกอบด้วยตัวท่านเองมีความเลื่อมใสการปฏิบัติอยู่แล้ว จึงเป็นโอกาสให้ท่านสนใจไปฟังการอบรมภาวนาและอุปัฏฐากใกล้ชิดกับพระอาจารย์อ่อนตั้งแต่นั้น ภายหลังจึงได้เปลี่ยนเป็นสามเณรฝ่ายธรรมยุติกนิกาย และติดตามพระอาจารย์อ่อนเรื่อยมา
๏ กราบนมัสการพระอาจารย์มั่น
ท่านเล่าต่อไปว่า ตอนที่ไปกราบนมัสการพระอาจารย์มั่น ณ วัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส) ครั้งแรกไปกับพระอาจารย์อ่อน พร้อมกับสามเณรอีกรูปหนึ่ง (จำชื่อไม่ได้) และญาติโยม ๔-๕ คน ออกจากวัดป่าบ้านหนองโดกหลังฉันจังหันเสร็จประมาณ ๓ โมงเช้า โดยเดินมุ่งหน้าสู่เทือกเขาภูพานที่อยู่ทางทิศใต้ของหมู่บ้านหนองโดก ผ่านไปทางบ้านโคกกะโหล่งหรือบ้านคำแหวปัจจุบัน แล้วปีนเขาขึ้นสู่ถ้ำน้ำหยาด อันเป็นที่พักแห่งหนึ่งของคนเดิน
คณะของท่านก็เดินตามทางนั้นไปเรื่อยๆ ใช้เวลานานพอสมควร จึงไปถึงที่พักของคนเดินทางอีกแห่ง ตรงนั้นเป็นลำห้วยเล็กๆ อยู่ฟากเขาใกล้บ้านหนองผือ น้ำใสเย็นไหลตลอดแนว ชื่อว่าห้วยหมากกล้วย ถึงช่วงนี้พระอาจารย์อ่อนผู้เป็นหัวหน้า จึงพูดขึ้นอย่างเย็นๆ ว่า “เอาล่ะ ถึงที่นี่แล้ว ให้พักผ่อนเอาแฮงสาก่อน...”
และพระอาจารย์ก็รับผ้าอาบจากสามเณร เอามาพับครึ่งแล้วปูลงบนพลาญ (ลาน) หิน เสร็จแล้วท่านก็นั่งลงขัดสมาธิหลับตา ซึ่งเป็นการพักเหนื่อยตามวิธีของท่าน สำหรับสามเณรพร้อมญาติโยมที่ไปด้วยต่างแยกย้ายหาที่พักเหนื่อย โดยการหามุมสงบทำสมาธิของแต่ละคนไปตามอัธยาศัย จนตะวันบ่ายคล้อยอากาศเริ่มเย็นสบาย จึงพากันออกจากสมาธิแล้วเตรียมเดินทางต่อไป จนกระทั่งถึงวัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส) เวลาประมาณบ่าย ๓ โมง พอเข้าไปภายในบริเวณวัด รู้สึกว่าภายในวัดร่มรื่นสงบเงียบ เหมือนกับไม่มีพระเณร แต่ลานวัดสะอาด เห็นแล้วพลอยทำให้จิตใจสงบเย็นไปด้วย ดูสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ภายในวัด จัดเก็บเป็นระเบียบเรียบร้อยดีมาก เดินไปอีกหน่อยหนึ่ง เห็นพระเณรกำลังทำกิจวัตรกวาดลานวัดด้วยไม้ตาด
ส่วนพระอาจารย์อ่อน พร้อมคณะ เข้าไปกราบนมัสการพระอาจารย์มั่นบนกุฏิ เสร็จแล้วก็กลับที่พัก ปัดกวาดลานวัด ตักน้ำใช้น้ำฉันจากบ่อน้ำ ซึ่งบ่อน้ำนั้นอยู่ท้ายวัด ตักขึ้นเทใส่ปี๊บ ใช้ผ้าขาวกรองที่ปากปี๊บ เมื่อเต็มแล้ว พระเณรผู้ที่จะหาม ๒ รูปใช้ไม้คานหามสอดที่ห่วงปี๊บ ถ้าต้องการหลายปี๊บก็สอดเรียงซ้อนกันมากน้อยตามกำลังสามารถ อย่างมากประมาณ ๔ ถึง ๖ ปี๊บ ในแต่ละเที่ยว เอาไปเทตามโอ่งที่ล้างบาตรที่ล้างเท้าหน้าศาลาหอฉัน และตามกุฏิพระเณร ห้องถาน (ห้องส้วม) จนกระทั่งเต็มหมดทุกที่
เสร็จจากนั้นก็เตรียมรอสรงน้ำพระอาจารย์มั่นบริเวณหน้ากุฏิท่าน ซึ่งมีพระเตรียมน้ำสรงไว้โดยใช้น้ำร้อนผสมพอให้อุ่นๆ เมื่อพระอาจารย์มั่นเข้ามานั่งบนตั่งแล้ว คราวนี้พระเณรทั้งหลายห้อมล้อม เพื่อเข้าไปถูหลังขัดไคลถวายอย่างเปี่ยมล้นด้วยศรัทธา ส่วน สามเณรบุญหนา (หลวงปู่บุญหนา ธมฺมทินโน) มีโอกาสเข้าไปร่วมสรงน้ำท่านพระอาจารย์มั่นในครั้งนี้ด้วย
เนื่องจากสามเณรบุญหนามีรูปร่างเล็ก พอได้แทรกเข้าไปกับพระ ซึ่งส่วนมากมีร่างกายใหญ่โตทั้งนั้น เช่น พระอาจารย์ทองคำ จารุวัณโณ, พระอาจารย์คำพอง ติสฺโส, พระอาจารย์อ่อนสา สุขกาโร, พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน และอีกหลายๆ ท่าน
เมื่อพระอาจารย์มั่นเห็นท่านซึ่งเป็นสามเณรมาใหม่ พระอาจารย์มั่นจึงพูดสำเนียงอีสานขึ้นว่า “เณรมาแต่ไส...” เสียงท่านน่าฟังสดับจับใจมาก บ่งบอกถึงความเมตตา แต่สามเณรบุญหนาไม่ทันตอบ มีพระอาจารย์ทองคำตอบแทนว่า “เณรมากับครูบาอ่อน ข้าน้อย” จากนั้นท่านไม่ได้ว่าอะไรต่อไป จนเสร็จจากการสรงน้ำท่านในวันนั้น ซึ่งเหตุการณ์ในวันนั้นเป็นสิ่งที่ท่านประทับใจมาจวบจนกระทั่งทุกวันนี้
สำหรับที่เป็นคติธรรมตามที่ได้เข้าสัมผัสวัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส) ครั้งสมัยพระอาจารย์มั่นพำนักจำพรรษาอยู่ที่นั่น ได้สังเกตเห็นว่า แม้พระเณรจะมีเป็นจำนวนมาก การทำกิจวัตร เช่น ตักน้ำใช้ น้ำดื่ม กวาดลานวัด ขัดห้องน้ำห้องส้วม ตลอดทั้งล้างกระโถน กาน้ำ กรองน้ำใส่โอ่งไห และทำการงานอื่นๆ จะไม่ปรากฏเสียงพระเณรพูดคุยกันเลย ถึงจะพูดคุยกันก็เพียงกระซิบกระซาบ เห็นแต่อาการปากขมุบขมิบเท่านั้น คนอื่นไม่ได้ยินด้วย นี่เป็นคติธรรมอันหนึ่ง ให้มีสติระมัดระวังตัวไม่ประมาท
จึงเกิดอุบายธรรมขึ้นมาว่า เรื่องสติเป็นสิ่งสำคัญมาก สติระลึกรู้ในกาย สติระลึกรู้ในวาจาคำพูด สติระลึกรู้ในใจ เมื่อสติรูซักซ้อมอยู่ภายในกาย วาจา และใจแล้ว ทำ พูด คิด ถูกและผิด ก็ระลึกรู้อยู่ ปรับปรุงอยู่อย่างนี้เสมอ
พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ ได้เล่าเรื่องของ ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล เทศน์แสดงธรรมสั้นๆ ว่า “กายสุจริตํ วจีสุจริตํ มโนสุจริตํ กายบริสุทธิ์ วาจาบริสุทธิ์ ใจบริสุทธิ์ เอวัง...” แล้วท่านก็เดินลงจากธรรมาสน์ไป
หลังจากพักอยู่วัดป่าบ้านหนองผือได้ระยะหนึ่งแล้ว จึงได้ออกเดินธุดงค์ต่อไปกับพระอาจารย์อ่อน เพื่อหาความสงบวิเวกอยู่ใกล้ละแวกนั้น จนกระทั่งทราบข่าวว่าพระอาจารย์มั่นออกจากวัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส) แล้วไปพำนักอยู่ที่วัดป่ากลางโนนภู่ ต.ไร่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร สุดท้ายท่านได้มรณภาพลงที่วัดป่าสุทธาวาส ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร
สามเณรบุญหนาได้ติดตามไปกับพระอาจารย์อ่อนโดยตลอด และไปพักอยู่ช่วยงานเตรียมเมรุชั่วคราว เพื่อถวายเพลิงศพพระอาจารย์มั่นที่วัดป่าสุทธาวาส จนแล้วเสร็จเรียบร้อยหมดทุกอย่าง จึงออกเที่ยวเดินธุดงค์ต่อไป
นอกจากนี้แล้ว ท่านยังได้ปฏิบัติอุปัฏฐากรับใช้ครูบาอาจารย์อื่นๆ อีก อาทิเช่น พระอาจารย์ชอบ ฐานสโม พระอาจารย์ตื้อ อจลธมฺโม พระอาจารย์ลี ธัมมธโร พระอาจารย์แหวน สุจิณโณ พระอาจารย์สิม พุทธาจาโร และพระอาจารย์จาม มหาปุญโญ เป็นต้น
ต่อมา หลวงปู่บุญหนา ธมฺมทินโน ได้มาพำนักจำพรรษาอยู่ ณ วัดป่าโสตถิผล บ้านหนองโดก ต.ช้างมิ่ง อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ตราบจนกระทั่งท่านได้ละสังขารในวันที่ 06 เมษายน 2559 รวมอายุ 84 ปี 64 พรรษา นับได้ว่าท่านเป็นพระอริยสงฆ์ที่ควรค่าแก่การกราบไหว้ เคารพบูชาสืบไป

ผู้ตั้งประมูล :
ดูประวัติผู้ตั้งประมูล : รายการที่ตั้งประมูล [16780] รายการที่เสนอราคาประมูล [1]
*** เพื่อความปลอดภัย กรุณาตรวจเช็คประวัติของผู้ตั้งประมูลทุกครั้ง ***
ที่อยู่ : แสดงเฉพาะผู้ร่วมประมูลเท่านั้น
รหัสไปรษณีย์ : แสดงเฉพาะผู้ร่วมประมูลเท่านั้น
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร
เบอร์โทรติดต่อ : 0824553809 ,
เงื่อนไขการรับประกัน : ** รับประกันพระแท้ภายในระยะเวลา ตลอดชีพ นับตั้งแต่วันที่ท่านได้รับพระ หากเก๊ยินดีคืนเงินเต็มจำนวนไม่หักเปอร์เซ็นต์
เงื่อนไขการรับประกันเพิ่มเติม :
*** กรุณาตรวจสอบเงื่อนไขการรับประกันของผู้ตั้งประมูล พ้นกำหนดถือว่าสิ้นสุดการรับประกัน ***
รายละเอียดการโอนเงิน :
มีผู้สนใจขณะนี้ 0 คน
ผู้สนใจเมื่อ 1 ชั่วโมงที่แล้ว 0 คน

Now 0

Hour 0

สถานะ : ปิดประมูล
ผู้ที่ชนะการประมูล คือ คุณ ดวงคาดเชือก ด้วยราคา ยื่นประมูล 300 บาท
** โปรดตรวจสอบให้แน่ชัดก่อนเข้าร่วมการประมูลทุกครั้ง กรณีเกิดการผิดพลาดทางเว็บจะไม่รับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น
รายงานผลโหวตรายการนี้
     ระบบการโหวตนี้จะขึ้นโชว์แค่ผลโหวต สมาชิกจะไม่ทราบว่าใครเป็นผู้โหวตแต่ระบบจะเก็บรายละเอียดไว้และเห็นได้เฉพาะทีมงานเวบเท่านั้นเพื่อปกป้องผู้เสียสละที่มาช่วยดูพระให้ หากมีผู้โหวตเก๊ครบสามคน กระทู้นั้นจะ ถูกลบ ออกจากกระดานประมูล ดังนั้นระบบนี้จะช่วยกวาดล้างพระเก๊ไปในเบื้องต้น แต่ต้องขอความร่วมมือจากสมาชิกที่มีความชำนาญได้ช่วยกันครับ แต่หากมีผู้โหวตมั่วๆ จะมีการเข้าตรวจสอบ และหากมีเจตนาไม่ดีจะถูกลงโทษระงับการใช้งานหรือยกเลิกสมาชิกทันที
พระแท้    
 
0 % [0]
พระเก๊    
 
0 % [0]
หมายเหตุ : เนื่องจากมีการโหวตให้คะแนนพระเก้ในกระดานประมูลเป็นจำนวนมาก หากท่านเจ้าของพระ มีความมั่นใจว่า พระของท่านที่นำมาลงประมูลเป็นพระแท้
    ทางเว็บไซต์ ขอแนะนำให้ท่าน ทำการส่งตรวจสอบ และขอใบรับรอง จากศูนย์รับดูพระทั่วไป เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับทุกท่านที่ร่วมประมูล
สนใจลงโฆษณา สนใจลงโฆษณา สนใจลงโฆษณา สนใจลงโฆษณา สนใจลงโฆษณา
สนใจลงโฆษณา สนใจลงโฆษณา สนใจลงโฆษณา สนใจลงโฆษณา สนใจลงโฆษณา

กรุณาโอนเงินไปที่
ชื่อบัญชี : นาย มนตรี ฉิมพาลี
เลขที่บัญชี : 0482832528    
ประเภทบัญชี : ออมทรัพย์
ธนาคาร : ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
สาขา : ถนนศรีนครินทร์ ( อุดมสุข )
E-Mail : กรุณาล็อกอินเพื่อแสดงข้อมูล

** ดูรายชื่อที่ห้ามโอนเงินโดยเด็ดขาด **
   
   
     
สมัครเปิดร้านค้า    
เรียงคำตอบจาก        

ราคาประมูล :300  บาท

 วันที่ 20/04/59 เวลา 21:10:00  ตอบโดย : มนตรีฉิมพาลี [627][56]
สวัสดีครับ ผมได้จัดส่งให้แล้วนะครับ วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2559 เวลา 19:49 น. EMS หมายเลข EP208793010TH ของควรถึงในวันพฤหัสที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2559 เมื่อได้รับของแล้วกรุณาแจ้งกลับด้วยนะครับ ขอขอบคุณมากครับ
 วันที่ 20/04/59 เวลา 21:43:00  ตอบโดย : ดวงคาดเชือก
เคร

7# จากคุณ
ส่งข้อความถึงคุณดวงแกงหมู
แจ้งลบกระทู้แจ้งลบกระทู้ [17/4/2559 16:26:00]

 
6# จากคุณ
ส่งข้อความถึงคุณมนตรีฉิมพาลี
แจ้งลบกระทู้แจ้งลบกระทู้ [12/4/2559 23:29:00]

 
5# จากคุณ
ส่งข้อความถึงคุณมนตรีฉิมพาลี
แจ้งลบกระทู้แจ้งลบกระทู้ [12/4/2559 23:29:00]

 

พระคาถาพญานกยูงทอง เป็นพระคาถาที่พระกรรมฐานสายพระอาจารย์มั่นนิยมใช้ โดยเฉพาะผูกเป็นยันต์ในเหรียญที่ทำแจกของพระคณาจารย์สายนี้ เป็นต้นว่าพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ท่านได้ใช้หัวใจคาถาพญานกยูงทองมาจารึกไว้ที่ด้านหลังวัตถุมงคลของท่านแทบ ทุกรุ่น ทั้งนี้เพราะท่านถือว่า คาถาพญานกยูงทองมาจากบทสวดมนต์ที่เรียกว่า “โมรปริตร” อันมีอยู่ในบทสวดมนต์ 7 ตำนานอันเก่าแก่และเป็นหลักในการเจริญพระพุทธมนต์ตลอดมา
พระคาถาหัวใจพญานกยูงทองมีอยู่ว่า “นะโมวิมุติตานัง นะโมวิมุตติยา”
ส่วน พระคาถาโมรปริต ที่มีอยู่ในบทสวดมนต์ 7 ตำนานนั้น ผู้ใดได้เจริญโมรปริตรทุกเช้าค่ำจะปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวงอันเกิดจากขาวก หนามเครื่องดักทั้หลาย และสรรพอันตรายอันรออยู่เบื้องหน้า เหมือนกับพญานกยูงทองที่เจริญพระคาถานี้ไว้แล้วสามารถมีชีวิตยืนยาวมาจนเผลอ สติถูกบ่วงนายพรานเพราะเสียงของนางนกต่อ ( ไม่ใช่นาง นกต่อธรรมดาซะด้วย เป็นนางนกยูงต่อ !!! ) แต่เมื่อถูกจับไปแล้วก็สามารถเอาตัวรอดได้ เพราะบารมีแห่งการเจริญพระคาถาโมรปริตรนี้เอง
โมรปริตรนี้ ต้นฉบับบาลีและคำแปลคัดมาจากฉบับของกองนุศาสนาจารย์ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ โดยคำอ่านได้ให้ท่านผู้รู้ได้ถอดออกมาเป็นคำอ่านง่ายๆเพื่อสะดวกในการ อ่านออกเสียง
" ผู้ใดได้เจริญโมรปริตรทุกค่ำเช้าแล้วจะนิรันตราย ไม่ตายโหงด้วยอาการอันทุเรศต่างๆ ถึงซึ่งความสุขความเจริญทั้งปวง "
++++    เหรียญสวยงามมากครับ เหมือนหลวงปู่มาก ๆ  นอกจากนี้แล้วพอมองเหรียญเราจะเห็นยิ้มน้อย ๆของหลวงปู่ด้วยความเมตตา ตอกโค็ตและหมายเลข ชัดเจนในจำนวนสร้าง สร้างจำนวนน้อยมาก ๆ และด้วยนามมงคล++++ " มหาเศรษฐี "++++  “ จำนวนสร้างน้อยตามรายการสร้างแล้วประมาณ หมื่นสี่พันกว่าเหรียญ ” ++++ “ แบบมีประสบการณ์  ”   ด้านหลังเหรียญ ประกอบด้วยยันต์ " นะ มหาเศรษฐี " และ คาถา พญานกยูงทอง มีการไล่ตามเก็บแล้วนะครับ แล้วอย่างนี้ควรเก็บไว้บ้างหรือเปล่าครับ    ++++

4# จากคุณ
ส่งข้อความถึงคุณมนตรีฉิมพาลี
แจ้งลบกระทู้แจ้งลบกระทู้ [12/4/2559 23:28:00]

 
 
3# จากคุณ
ส่งข้อความถึงคุณมนตรีฉิมพาลี
แจ้งลบกระทู้แจ้งลบกระทู้ [12/4/2559 23:28:00]

 
 
2# จากคุณ
ส่งข้อความถึงคุณมนตรีฉิมพาลี
แจ้งลบกระทู้แจ้งลบกระทู้ [12/4/2559 23:28:00]

 
1# จากคุณ
ส่งข้อความถึงคุณมนตรีฉิมพาลี
แจ้งลบกระทู้แจ้งลบกระทู้ [12/4/2559 23:05:00]


Copyright 2002-2013, All Rights Reserved. สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ลิขสิทธิ์ & นโยบายส่วนตัว
หน้านี้ใช้เวลาในการแสดงผล 0.0781 วินาที